เมืองเก่าภูเก็ต
เมืองเก่าภูเก็ต ชิโนโปรตุกีส
ภูเก็ตยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และความรุ่งเรืองอันยาวนานอีกเมืองหนึ่งของไทยโดยหนึ่งในรอยอดีต อันรุ่งเรืองของภูเก็ตตึกเก่าแบบชิโน-โปรตุกีสถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2446 เนื่องจากการทำเหมือง แร่ที่เติบโตทำให้ชาวจีนและชาวตะวันตกต่างหลั่งไหลเข้ามาที่เมืองภูเก็ตเป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาล เมือง ภูเก็ตสิ่งแรกที่ผู้ไปเยือนจะรู้สึกสะดุดตาก็คือตึกเก่าที่ตั้งตระหง่านอยู่ในย่านการค้าเก่าเเก่ของเมือง เป็น อาคารสไตล์ “ชิโนโปรตุกีส” ที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นของเมืองภูเก็ต ตึกเก่าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วตัวเมืองภูเก็ต สามารถเดินชมได้อย่างต่อ เนื่อง นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารอร่อยหลายเจ้าให้เที่ยวไปกินไปอย่างเพลิดเพลินและทางเทศบาล เมืองภูเก็ต ก็ได้เห็นถึงความสำคัญของ สถาปัตยกรรมเหล่านี้ โดยได้ทำการอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสนี้ ไว้และจัดให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ของการท่องเที่ยว จัดให้มีเส้นทางเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ สัมผัสกับความสวยงามของบ้านเรือนเก่าแก่ของภูเก็ตและสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่สวยงาม พร้อมๆกับได้ สัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของคนภูเก็ตและที่สำคัญอาหารอร่อยเลื่องชื่อการเดิน ชมเมืองเก่า เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีสเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่งแม้ว่าตึกเก่าเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วเมืองภูเก็ต แต่ย่านที่มีอาคารเก่าหนาแน่น คือ ถ. ดีบุก กระบี่ ถลาง และ เยาวราช เนื่องจากถนนเหล่านี้เป็นย่านเก่าของภูเก็ตประวัติ ในอดีตเมืองท่าสำคัญทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู มีชาวจีนเข้ามาค้าขายกันมาก ก่อนตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น เมืองมะละกา มีโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ ผลัดเปลี่ยนกันครอบครอง และนำรูปแบบศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ สถาปัตยกรรมจึงมีลักษณะ ผสมผสานกันระหว่างศิลปะตะวันตกและศิลปะตะวันออก เรียกว่า อาคารแบบโคโลเนียล จากนั้นก็ส่งอิทธิพลไป ตามเมืองท่าต่างๆอย่างสิงคโปร์ และปีนังซึ่งมีสายสัมพันธ์โดยตรงกับภูเก็ต
ความคิดเห็น